google-site-verification=FGfOxuqKYFqDD8_IOTBxeeTJwisjig1ZYYDKx5LB1BU เรื่องของโรค "หืด" - betacalplus-th

เรื่องของโรค "หืด"

Last updated: 26 มิ.ย. 2566  |  456 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เรื่องของโรค "หืด"

โรคหืด หรือที่เรียกกันว่า หอบหืด แท้จริงแล้วโรคหืดมีความเกี่ยวเนื่องกับภูมิแพ้หรือ แล้วเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบจากหนังสือ คลินิกสุขภาพ โดยแพทย์หญิง สิรินันท์ บุญยะลีพรรณ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ

 

รู้จักโรคหืด

            โรคหืดเป็นโรคที่พบได้ในผู้ป่วยทุกวัย เป็นสาเหตุสำคัญของการขาดโรงเรียน ขาดงาน ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค และบางครั้งอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ด้วยหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที

 

โรคหืดเกิดจากอะไร

            โรคหืดเป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ (chronic inflammation) ทำให้หลอดลมมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ มากผิดปกติ (airway hyperresponsiveness)  การไหลเวียนของอากาศในระบบทางเดินหายใจลดลง (airflow limitation) ซึ่งเป็นผลมาจากการที่หลอดลมหดตัว เยื่อบุภายในหลอดลมบวมขึ้น มีเสมหะอุดตันในหลอดลม และเยื่อบุหลอดลมอาจเสื่อมสภาพลงถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

อาการของโรค

            หายใจมีเสียงวี้ด หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย ไอ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนและเช้ามืด

            บางรายอาจมีอาการกำเริบภายหลังการออกกำลังกาย ภายหลังได้รับสารที่แพ้เข้าไป และเมื่อเป็นหวัดมักมีอาการมากกว่าคนทั่วไปและป่วยนานกว่า อาการจะดีขึ้นเมื่อได้รับยาขยายหลอดลม ในบางรายอาจพบแค่อาการไอเรื้อรัง



 

ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นเหตุของการเกิดโรคหืด

            แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

            1.ปัจจัยภายในตัวเอง ได้แก่

            โรคภูมิแพ้ : เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เราพบว่าครึ่งนึงของผู้ป่วยโรคหืดเกิดมาจากภูมิแพ้

            กรรมพันธุ์ : โรคหืดหรือโรคภูมิแพ้อื่นๆ

            เพศ : ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี เด็กชายจะเป็นโรคนี้มากกว่าเด็กหญิง ในวัยผู้ใหญ่ ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย

            2.ปัจจัยภายนอก  ได้แก่

            การได้รับสารก่อภูมิแพ้ : เช่น ไรฝุ่น เศษโปรตีนจากสัตว์เลี้ยง แมลงสาบ เชื้อรา ละอองเกสรต่างๆ

            มลพิษจากการทำงาน : เช่น ก๊าซพิษต่างๆ ฝุ่นแป้ง ฝุ่นจากการไสไม้ สารเคมีต่างๆ

            ควันบุหรี่ : ทั้งที่ผู้ป่วยสูบเองหรือได้รับจากคนข้างเคียง

            มลภาวะทางอากาศ : เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โอโซน ไนโตรเจนออกไซด์ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ก๊าซที่ใช้ในการหุงต้มอาหาร

            การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ : เช่น เชื้อไวรัสโรคหวัดหลายชนิด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้