google-site-verification=FGfOxuqKYFqDD8_IOTBxeeTJwisjig1ZYYDKx5LB1BU ภูมิแพ้ โรคที่ไม่ควรมองข้าม!! พาร์ท 2 - betacalplus-th

ภูมิแพ้ โรคที่ไม่ควรมองข้าม!! พาร์ท 2

Last updated: 26 มิ.ย. 2566  |  383 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภูมิแพ้ โรคที่ไม่ควรมองข้าม!! พาร์ท 2

ภูมิแพ้ หลายๆท่านคงคิดว่าโรคที่เกิดจากภูมิแพ้มีเพียง แพ้อากาศเพียงอย่างเดียวแต่ความจริงนั้นยังมีโรคที่เกิดจากภูมิอื่นๆอีก วันนี้เราจึงนำความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ จากหนังสือ คลินิกสุขภาพ หัวเรื่องภูมิแพ้ โดย แพทย์หญิงสิรินันท์ บุญลีพรรณ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์เฉลิมชัย  บุญยะลีพรรณ นำมาฝากกันค่ะ

 

การเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ในร่างกาย

รู้จักคำศัพท์

            สารก่อภูมิแพ้ (ALLERGEN) เป็นสารตามธรรมชาติที่สามารถกระตุ้นให้ระบบภูมิต้านทานของผู้ป่วยสร้างภูมิต้านชื่อ ไอจีอี (IGE) ขึ้นมา สารก่อภูมิเหล่านี้ เช่น ไรฝุ่น เศษโปรตีนจากแมลงสาบและสัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัข  ละอองเกสรต่างๆ ทั้งจากดอกหญ้า ดอกของวัชพืช และดอกไม้ต่างๆ สปอร์ของเชื้อรา โปรตีนในอาหารชนิดต่างๆ



            ไอจีอี (IGE) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่อยู่ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกสร้างจากเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ในคนปกติจะมีปริมาณไอจีอีน้อยมาก แต่ในคนที่เป็นภูมิแพ้ ถ้าแพ้สารใดก็จะมีไอจีอีต่อต้านสารนั้นสูงกว่าปกติ เช่น คนที่แพ้แมว จะมีไอจีอีต่อโปรตีนแมวสูง

ขั้นตอนการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้

           
เมื่อมีสารก่อภูมิแพ้เข้ามาในร่างกายของผู้ป่วย  ไม่ว่าจะด้วยการหายใจ รับประทาน สัมผัส หรือฉีดเข้าไป สารก่อภูมิแพ้นี้จะถูกเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันจับไว้ ทำปฏิกิริยาต่อเนื่องกันหลายขั้นตอน จนสุดท้ายมีการสร้าง

ไอจีอีขึ้น ไอจีอีที่ถูกสร้างขึ้นนี้จะไปจับอยู่ที่ผิวเซลล์ 2 ชนิด คือ เซลล์มาสต์ (Mast cell) และเบโซฟิล (Basophil) ซึ่งพบได้ทั่วร่างกาย เช่น เยื่อบุภายในจมูกและหลอดลม ในทางเดินอาหาร ละที่ผิวหนัง  การที่เซลล์มาสต์และเบโซฟิล มีไอจีอีมาเกาะติดอยู่ที่ผิว จะทำให้เซลล์เหล่านั้นอยู่ในสภาพพร้อมที่จะเกิดปฏิกิริยา



            เมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ชนิดเดิมเข้าไปอีกครั้ง สารก่อภูมิแพ้นี้ก็จะไปจับกับไอจีอีที่เกาะอยู่บนผิวของเซลล์มาสต์และเบโซฟิลและมีการทำปฏิกิริยากัน เป็นผลให้เซลล์ปล่อยสารเคมีที่อยู่ภายในออกมามากมายหลายชนิด สารเคมีตัวสำคัญ เช่น ฮีสทามิน (Histamine) ลิวโครไตรอีน (Leukotriene) สารเคมีเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อเนื้อเยื่อรอบๆ ทำให้เกิดอาการต่างๆขึ้น และยังมีผลให้เซลล์ชนิดอื่นๆเข้ามาสู่บริเวณที่เกิดปฏิกิริยานี้เพิ่มขึ้นอีก เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องตามมาอีกหลายระลอก จนมีการอักเสบ (Inflammation) เรื้อรัง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้